การจัดการความรู้ บริษัท โตโยต้ามอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด

   การจัดการความรู้ บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด





          โดโยต้า มอเตอร์ คอร์เปอร์ชั่นเริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2476 ทำการผลิตเครื่องทอผ้าโตโยดะ นำโดยนาย คีชิโระ โตะโยะดะ และได้ริเริ่มก่อตั้งพัฒนาเครื่องยนต์ Type A ซึ่งได้นำไปใช้ใน Model A 1 เป็นรถยนต์นั่งคันแรกของบริษัทขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2478 และรถบรรทุกในปีเดียวกัน ปัจจุบัน โตโยต้ามอเตอร์ เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น และเป็นอันดับสามของโลก ซึ่งโตโยต้ามีความสามารถด้านการผลิตรถได้ประมาณแปดล้านคันต่อปี และเป็นบริษัทที่ให้กำเนิด ระบบการผลิตแบบโตโยต้า(Toyota Production System:TPS) และวิถีแห่งโตโยต้า (Toyota Way) ที่โด่งดังไปทั่วโลก
วิสัยทัศน์  
  1. เป็นบริษัทแกนนำของโตโยต้ามอเตอร์เอเซียแปซิฟิกและเครือข่ายโตโยต้าทั่วโลก
  2. เป็นบริษัทที่ได้รับการยอมรับและยกย่องที่สุดในประเทศไทย
หลักการ
  1. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการท้าทายและเปลี่ยนแปลง
  2. เคารพและยอมรับผู้อื่น
  3. ยึดหลักความพึงพอใจของลูกค้า
  4. ทุ่มเทเพื่อมาตรฐานสูงสุด
  5. รับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม 
พันธกิจ
  •            สร้างความแข็งแกร่งในการปฏิบัติงานและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างเอเซียแปซิฟิก
  •          บรรลุการเป็นผู้นำด้านความพึงพอใจของลูกค้า และในด้านสัดส่วนการตลาด
  •          กำหนดให้ความปลอดภัยเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดของกิจกรรมรากฐานของบริษัท
  •          สร้างสังคมที่มีคุณภาพโดยการทำกิจกรรมที่มีคุณค่าเพื่อสังคม
ขั้นตอนการจัดการความรู้/กระบวนการจัดการความรู้
  1. พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาและอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า KAIZEN
  2. ในการปฏิบัติงานก็มีระบบการใช้ความรู้ในการวิเคราะห์ในแทบทุกกระบวนการ ซึ่งเรียกว่า 5 WHYS
  3. การแลกเปลี่ยน TACIT KNOWLEDGE ระหว่างกันในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆ จะยึดหลัก เก็นจิ- เก็นบูชสึ (GO AND SEE)
  4. การเรียนรู้” ของโตโยต้าเน้นที่ OJT – ON THE JOB TRAINING
  5. การนำเสนอ “ความรู้” ระดับบุคคล ได้แก่ SUGGESTION SYSTEM
  6. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำวัน เรียกว่า MORNING TALK
  7. ตัวเครื่องมือสำหรับ CONTINUOUS IMPROVEMENT คือ PDCA หรือ QCC
  8. เจ้าหน้าที่ระดับหน้างานได้ “เห็น” (VISUALIZE) กราฟหรือถ้อยคำง่าย ๆ ที่สะท้อนคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพในภาพรวมของโรงงานและแต่ละ “หมู่บ้าน” ก็เขียนรายงานง่าย ๆ ว่าตนได้ปรับปรุงงานในลักษณะลดการสูญเสียอย่างไรบ้าง
  9. ผู้บริหารทำหน้าที่เอาภาพย่อยๆ เหล่านี้ไปสังเคราะห์เป็นภาพรวมและสอดส่ายสายตาหา “ผลงานเลิศ”/”วิธีการเลิศนำมายกย่องและทำให้เป็นมาตรฐานใหม่ในระดับองค์กรเห็นการบริหารงานแบบ EMPOWERMENT ชัดเจน แต่ไม่ใช่ EMPOWERMENT แบบไร้โครงสร้าง
  10. การบริหารต่อระดับล่างแบบ EMPOWERMENT ผู้บริหารระดับสูงก็บริหารทิศทางและความมั่นคงระยะยาว
บทเรียนที่ได้รับ/ความสำเร็จในการจัดการความรู้

          การจัดการความรู้ได้ถูกนำมาใช้โดยผ่านกลยุทธ์การบริหารแบบ JIDOKA เป็นวัฒนธรรมปลูกฝังให้กับโรงงานผลิตของโตโยต้าทั่วโลก ในกระบวนการผลิตหากมีการทำงานที่ผิดพลาดในสายการผลิตส่วนใดก็ตาม กระบวนการผลิตของแผนกต้องหยุดการทำงานทันที และคนแหล่านั้นต้องร่วมกันหาสาเหตุเพื่อแก้ไขตามขั้นตอนและประสบการณ์ที่ผ่านมา ซึ่งต้องเป็นไปตามแนวทางการส่งงานทันเวลาทำให้เกิดความคิดในการพัฒนาเพื่อสร้างการทำงานรูปแบบใหม่ การจัดการความรู้ระบบ JIDOKA  ทำให้บริษัทสามารถกำจัดความสูญเสียในสายการผลิตสินค้าและสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากพนักงานสามารถจัดการความรู้ ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าโรงงานผลิตจะอยู่แห่งใดในโลก การจัดการความรู้ระบบ JIDOKA  ทำให้บุคลากรต้องพัฒนาขีดความสามารถขั้นพื้นฐานที่ทำให้ให้เกิดการจัดการทางการปฏิบัติงาน โดยจัดให้มีกลุ่มย่อยเพื่อคิดวิเคราะห์วิธีปฏิบัติงานที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในรูปแบบของการจัดทำคู่มือการปฏิบัติที่เข้าใจง่าย เหมาะสมกับการปฏิบัติงานนั้น ๆ และจัดให้มีการแข่งขันการทำคู่มือที่ดีที่สุดเพื่อใช้ในการทำงาน
         ทางบริษัทโตโยต้าจะมีการฝึกอบรมขั้นพื้นฐานที่จะส่งเสริมการทำงานตามระบบ JIDOKA การฝึกปฏิบัติด้วยงานมือ ตั้งแต่การไขน็อต จนถึงการประกอบชิ้นส่วนตัวถังรถ ผู้ฝึกอบรมต้องถ่ายวีดิโอทุกครั้งในการปฏิบัติงาน เพื่อส่งให้ผู้ควบคุมการฝึกเพื่อหาขั้นตอนการทำงานที่ผิดพลาด ทำให้พนักงานสามารถรู้ข้อบกพร่องของตนเองที่จะต้องแก้ไข โดยหน่วยงานจะเก็บวีดิโอไว้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรต่อไป เวลาการฝึกในแบบ JIDOKA ต้องใช้ระยะเวลาฝึกที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียนรู้แต่ละบุคคล เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติในงานเดียวกัน โดยบุคลากรสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมจากโรงงานในประเทศญี่ปุ่นมาปฏิบัติงานได้กับทุกโรงงานในโลก
  

                โตโยต้า ในปัจจุบัน มียอดขายรวมของรถเก๋งและรถกระบะเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย รวมถึงมียอดจำหน่ายเป็นอันดับต้นๆ ในเวทีโลก และในสถานการณ์ปัจจุบันก็มีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ขณะที่บางบริษัทมีผลประกอบการขาดทุน และผู้เขียนจำได้ว่าในช่วงปี พ.ศ. 2540 บางบริษัทมีการปลดพนักงานจำนวนมาก แต่บริษัทโตโยต้ากลับมีนโยบายไม่ปลดพนักงานประจำ รวมถึงได้ให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตชิ้นส่วน และผู้แทนจำหน่ายให้สามารถอยู่รอดได้เมื่อประสบปัญหาวิกฤตดังกล่าว และเห็นว่านโยบายดังกล่าวน่าจะเป็น ส่วนหนึ่งที่ทำให้บริษัทโตโยต้าเป็นผู้ผลิตที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง ของประเทศไทยรวมถึงของเวทีโลกในปัจจุบัน ปัญหาวิกฤตดังกล่าว และที่เห็นว่านโยบายดังกล่าวน่าจะเป็น ส่วนหนึ่งที่ทำให้บริษัทโตโยต้าเป็นผู้ผลิตที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง ของประเทศไทยรวมถึงของเวทีโลกในปัจจุบัน


ข้อมูลเพิ่มเติม https://note2u.wordpress.com, www.toyota.co.th




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น