การจัดการความรู้ Starbucks Coffee

การจัดการความรู้ Starbucks Coffee

ข้อมูลทั่วไป
Starbucks coffee ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก เมื่อปี 1971 ที่รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย มร.โฮเวร์ด ซู้ลส์ ได้เข้ามาร่วมงานกับ Starbucks ซึ่งผู้ผลิตเมล็ดกาแฟและผู้ค้าปลีกเมล็ดกาแฟและกาแฟคั่วบดในประเทศที่ได้รับความเชื่อถืออย่างสูงในขณะนั้น  หลังจากดูงานจากกรุงมิลาน ประเทศอิตาลี ซู้ลส์ได้ประทับใจกับกาแฟเอสเพรสโซ่ ทำให้กลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญ ทำให้ Starbucks ขายผลิตภัณฑ์กาแฟและชา ผ่านการดำเนินงานที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญ
Starbucks coffee เปิดตัวครั้งแรก ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีร้านกาแฟแบรนด์Starbucks coffee มากกว่า 500 สาขาในญี่ปุ่น และอีกกว่า 62 ประเทศทั่วโลก มากกว่า 20,891 สาขา ถือได้ว่าเป็นผู้คั่วบดกาแฟและผู้ค้าปลีกกาแฟคั่วพิเศษระดับพรีเมียร์ของโลก
วิสัยทัศน์ของ Starbucks coffee คือ ร้านกาแฟคือสถานที่สำหรับการสนทนา ให้ความรู้สึกของความเป็นชุมชนเป็นอีกสังคมหนึ่งนอกเหนือจากบ้านและทีทำงาน”


          พันธกิจของ Starbucks coffee คือ  “To inspire and nurture the human spirit – one person, one cup and one neighbourhood at a time” “เป็นแรงบันดาลใจและหล่อหลอมจิตวิญญาณของมวลมนุษย์ ครั้งละคน ครั้งละแก้ว และครั้งละชุมชน”
การจัดการความรู้ Starbucks coffee ใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ 3 กลยุทธ์ ได้แก่


 1) การจัดการความรู้เพื่อลูกค้า เป็นการจัดการข้อมูลความรู้จากองค์กรไปสู่ลูกค้า และองค์การนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ ข้อเสนอและส่วนลดต่างๆ ไปยังลูกค้า
 2) การจัดการความรู้จากลูกค้า จัดการข้อมูลความรู้จากลูกค้าสู่องค์กร ความรู้จากลูกค้าจะช่วยองค์กรในการนำมาเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยจัดการวิกฤติปัญหาในองค์กรได้  
 3) การจัดการความรู้เกี่ยวกับลูกค้าจัดการความรู้ระหว่างลูกค้าด้วยกัน เกี่ยวข้องกับการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบริการ
Starbucks coffee ใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ของลูกค้าผ่านทาง Social Media ซึ่งเป็นบริการทางออนไลน์ที่ช่วยสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ให้เกิด การร่วมกัน สร้างสรรค์ ค้นหา แบ่งปันแลกเปลี่ยนพื้นที่ข้อมูลทางออนไลน์ มีการสร้างแอพพลิเคชั่นบนอินเตอร์เน็ตที่สร้างตามแนวคิดเทคโนโลยี Web 2.0 และยังเปลี่ยนบทบาทผู้ใช้ที่เป็นเพียงผู้อ่าน มาเป็นผู้ที่สามารถแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูลได้
เทคโนโลยีการจัดการความรู้ของลูกค้าผ่าทาง Social Media


1)      Micro Blogging Services (MBS) ลูกค้าสามารถ เผยแพร่ แบ่งปัน และแสดงความคิดเห็นสั้น ๆ เรียกว่า Micro post เช่น Twitter
2)      Social Networking Services (SNS) ลูกค้าสามารถสร้างและนำเสนอข้อมูลส่วนตัวภายใต้ข้อจำกัดระบบ และสามารถสร้างกลุ่มเพื่อเชื่อมต่อกับผู้ใช้อื่นที่มีความสนใจในเรื่องคล้ายกัน เช่น Facebook
3)      Location-Aware Mobile Services (LMS) ลูกค้าสามารถระบุสถานที่จริง ณ ตำแหน่งที่ตนอยู่ผ่านทางออนไลน์ เช่น Foursquare และ Google Latitude
4)      Corporate Discussion Forum services (CDS) บริการที่เปิดช่องทางให้ลูกค้าสามารถเข้ามาพูดคุย แสดงความคิดเห็น ในประเด็นเกี่ยวกับบริการขององค์การ
ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการความรู้ Starbucks coffee
จากการศึกษาการจัดการความรู้ Starbucks coffee พบว่า Starbucks coffee ใช้ Social Media เข้ามาใช้เป็นเทคโนโลยีที่มีส่วนทำให้การจัดการความรู้ประสบความสำแร็จและยังทำให้ได้รับการยอมรับ สิ่งหนึ่งที่ยืนยันถึงความนิยมของสตาร์บัคส์ได้อย่างชัดเจน นั่นคือจำนวนคนในแฟนเพจกว่า 30 ล้านคนซึ่งบ่งบอกถึงแสงสว่างว่าการพัฒนาเป็นไปในทางที่ดีขึ้นได้ การเบี่ยงเบนทิศทางการบริหารจากเดิมที่มุ่งหน้าไปที่การขยายสาขาออกไปให้มากขึ้นซึ่งไม่ประสบความสำเร็จนักในบางพื้นที่ มาเป็นการดูแลรักษาฐานกลุ่มลูกค้าออนไลน์บน social media ผู้รักแบรนด์ Starbucks นี้เองที่ทำให้เกิดยอดการสั่งสินค้าและกาแฟผ่านโทรศัพท์มือถือกว่าหนึ่งล้านครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งก็ยืนยันได้ว่าการตัดสินใจเดินหน้าพา Starbucks ไปต่อในทิศทางใหม่ของ Schultz ประสบความสำเร็จ 

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.starbucks.com/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น