ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการความรู้

ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยด้านกระบวนการ ปัจจัยเทคโนโลยี และปัจจัยด้านบุคลากร  จากบทความเรื่อง Success Factors in Knowledge Management An IISD Knowledge communications Practice Note  Heather Creech, Director, Knowledge Communications, 2005 สามารถวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการความรู้ ดังนี้
ปัจจัยด้านองค์การ
1.       Setting the objectives at the right level การกำหนดวัตถุประสงค์ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการดำเนินธุรกิจถือเป็นปัจจัยที่ช่วยให้การพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้มีความชัดเจนมากขึ้น จะทำให้องค์การสามารถเลือกแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้ที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนได้ตรงกับวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจตนเอง
2.      Working with combinations of strategies กลยุทธ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการความรู้ องค์การที่มีวัฒนธรรมการทำงานที่ช่วยเหลือระหว่างกัน โดยมุ่งเน้นความสำเร็จของงาน ก่อให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลและความรู้ระหว่างบุคลากรภายในร่วมกัน ลดการแข่งขันชิงดีชิงเด่น เป็นวัฒนธรรมที่เอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนากลยุทธ์ในการจัดการความรู้                                                                                      
ปัจจัยด้านกระบวนการ
3.      KM efforts connected to both mission and operations การจัดการความรู้ควรปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ขององค์การ สามารถระบุถึงความรู้เพื่อไปใช้ทำอะไร กระบวนการจัดการความรู้เชื่อมโยงพันธกิจ การดำเนินงาน วิธีปฏิบ้ติงานของบุคลากร การได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญกลยุทธ์นี้ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่องค์การให้ความสำคัญที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรในองค์การ
ปัจจัยด้านเทคโนโลยี
4.      Progress based on experimentation เป็นกลยุทธ์ที่นำเทคโนโลยีหลากหลายเพื่อทดลองใช้ เช่น เครือข่ายภายใน บล็อก(Blog) ชุมชนออนไลน์ วิกีพีเดีย เพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมใช้เป็นช่องทางสื่อสารระหว่างสมาชิกได้
5.      Planning for sustainability of knowledge mobilization processes  เป็นการวางแผนกระบวนการจัดการความรู้ การใช้เครือข่ายข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูล และสร้างคลังข้อมูลเพื่อช่วยเก็บรักษาข้อมูลที่มีอยู่ใน โดยอาศัยเทคโนโลยี ในการรวบรวมและถ่ายโอนข้อมูล
ปัจจัยด้านบุคลากร
6.      A stated rationale for knowledge initiatives เนื่องจากบุคลากรถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ทำให้เกิดความรู้ที่ฝังลึกสั่งสมอยู่ในตัวบุคคล จำต้องมีการนำออกมาจัดเก็บและการจัดการความรู้ให้สามารถแบ่งปัน หมุนเวียนเปลี่ยนกันได้ เช่น ถ้ามีบุคลากรเกษียณอายุราชการ ความรู้นั้นก็ยังคงอยู่ไม่หายไป
7.      Understanding the basic components of KM ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้แก่บุคลากรในองค์การ บุคลากรมีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้และทราบวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการสื่อสารภายในที่ดีระหว่างบุคคลในองค์การ
8.       Defined roles and responsibilities บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรทุกระดับ ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้อย่างจริงจัง ผู้เชี่ยวชาญ และทุกคนในองค์การให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความรู้ ให้เกิดการบูรณาการความรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ให้เป็นความรู้ใหม่ นับเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เกิดความสำเร็จยั่งยืน


JJJJJ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น